CALCIUM L-THREONATE คืออะไร ต่างยังไงกับแคลเซียมแบบเดิม?

เพราะว่าร่างกายมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้ จึงจำเป็นที่ต้องหาตัวช่วยจากการทานสิ่งต่างๆ เช่น อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม หรือไม่ก็ทานแคลเซียมในรูปแบบสกัดเป็นเม็ดฟู่แทน  ซึ่งในยุคแรกๆ  ได้มีการคิดค้นแล้วสกัดออกมาเป็น “แคลเซียมคาร์บอเนต” แต่ยังไงก็ตามปัจจุบันนี้คนรักสุขภาพต้องไม่พลาดที่จะทำความรู้จักกับแคลเซียมตัวใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่าง “CALCIUM L-THREONATE” 

ก่อนอื่นเลย มาดูกันหน่อย “CALCIUM” แบบทั่วไปที่เราพูดถึงนั้นหมายถึงอะไรบ้าง? 

ผลิตภัณฑ์แคลเซียมทั่วไปที่สายสุขภาพสนใจมักจะอยู่ในรูปของอาหารเสริมที่เป็นรูปแบบแคปซูลหรือเม็ดฟู่ซะส่วนใหญ่…

และหากพูดเรื่องของคุณสมบัติดีดีจากแคลเซียม…แน่นอนว่ามันต้องมีส่วนช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกระดูกและฟัน เมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ ประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์จะถูกเก็บสะสมไว้ที่กระดูกและฟัน ส่วนอีก 1 เปอร์เซ็นต์จะอยู่ในเลือด

ทั้งนี้หากถามว่าแคลเซียมทั่วๆ ไปที่รู้จักกันในวงการสุขภาพนั้นมีอะไรบ้าง? โดยภาพรวมแล้ว เราจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. แคลเซียมอนินทรีย์  ยกตัวอย่างเช่น…

1.1 แคลเซียมคาร์บอเนต (CALCIUM CARBONATE)  (ถูกทำขึ้นในยุคแรกๆ )   >> ตัวนี้มีอัตราการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายต่ำ กระเพาะอาหารต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดก่อนถึงจะดูดซึมได้ดี 

  1. แคลเซียมอินทรีย์ ยกตัวอย่างเช่น …

2.1 แคลเซียมซิเตรต (CALCIUM CITRATE)  >> ตัวนี้สกัดมาจากนม ต้องทานพร้อมอาหาร  สามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อกระเพาะอยู่ในสภาพเป็นกรดเท่านั้น หากทานแล้วร่างกายดูดซึมได้ไม่หมด ก็มีโอกาสที่จะเกิดการสะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หากสะสมที่ปอดเยอะก็จะก่อให้เกิดหินปูนที่ปอดนั่นเอง 

2.2 แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต (CALCIUM L-THREONATE ) >> นี่ล่ะคือเป็นแคลเซียมยุคใหม่ที่เรากำลังพูดถึง ตัวนี้สกัดมาจากกระบวนการผลิตวิตามินซีจากข้าวโพด เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะสามารถดูดซึมได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์เลย  บางงานศึกษาบอกว่าร่างกายจะสามารถดูดซึมได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  และยังถูกยกให้เป็นแคลเซียมโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถละลายเข้าสู่ร่างกายเราได้ดีอีกด้วย  และคุณยังสามารถทานตอนท้องว่างได้โดยไม่ต้องรอให้กระเพาะอยู่ในสภาพที่เป็นกรดก่อน 

***ทั้งนี้จากที่เล่ามาข้างต้น ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า…ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปในแต่ละประเภทนั้นไม่เท่ากัน

ก่อนที่จะมี CALCIUM L-THREONATE นี่คือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการทานแคลเซียมรุ่นเก่า

งานศึกษาจาก HARVARD UNIVERSITY และ OXFORD UNVERSITY เห็นตรงกันว่าแคลเซียมอาจไปกระจุกอยู่ที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบในบริเวณนั้น เช่น หากไปกระจุกที่ไตเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เป็นนิ่ว หรือถ้าสะสมที่ปอดเยอะก็จะกลายเป็นหินปูนในปอดนั่นเอง นอกจากนี้ก็อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

 หลังทาน CALCIUM L-THREONATE จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเราบ้าง?

เมื่อทานแคลเซียมแอล-ทรีโอเนตเข้าไป ลักษณะการดูดซึมของร่างกายจะเป็นแบบ PASSIVE TRANSPORT หรือเป็นการดูดซึมซึมผ่านเซลล์ โดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดีเหมือนแคลเซียมรุ่นเก่า และยังสามารถทานตอนท้องว่างได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากUS NATIONAL LIBRARY OF MEDICINE NATIONAL INSTITUTES OF HEALTHที่ยืนยันว่าแคลเซียมประเภทนี้ปลอดภัยและไม่ค้างสะสมในร่างกายอีกด้วย

เอาเป็นว่าใครที่สนใจ…ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยา โดยควรผ่านการพิจารณาจากเภสัชกร หรือจะปรึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลที่คุณเข้าทำการรักษาอยู่ก็ได้

“ความต้องการแคลเซียมของแต่ละวัยแตกต่างกัน วัยเด็กอยู่ที่ประมาณ 600 มก.ต่อวัน ในวัยรุ่นประมาณ 1,000-1,500 มก.ต่อวัน ส่วนในวัยผู้ใหญ่ประมาณ 800-1,000 มก.ต่อวัน ขณะที่หญิงตั้งครรภ์จะต้องการ 1,500 มก.ต่อวัน ส่วนในผู้สูงอายุจะเป็นวัยที่ต้องการปริมาณแคลเซียมมากที่สุด เฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 มก.ต่อวัน”  

                     ขอบคุณข้อมูลจาก ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์

Source: https://www.healthaddict.com

 

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save