เพราะว่าร่างกายมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์แคลเซียมเองได้ จึงจำเป็นที่ต้องหาตัวช่วยจากการทานสิ่งต่างๆ เช่น อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม หรือไม่ก็ทานแคลเซียมในรูปแบบสกัดเป็นเม็ดฟู่แทน  ซึ่งในยุคแรกๆ  ได้มีการคิดค้นแล้วสกัดออกมาเป็น “แคลเซียมคาร์บอเนต” แต่ยังไงก็ตามปัจจุบันนี้คนรักสุขภาพต้องไม่พลาดที่จะทำความรู้จักกับแคลเซียมตัวใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมอย่าง “CALCIUM L-THREONATE”

ก่อนอื่นเลย มาดูกันหน่อย “CALCIUM” แบบทั่วไปที่เราพูดถึงนั้นหมายถึงอะไรบ้าง? 

ผลิตภัณฑ์แคลเซียมทั่วไปที่สายสุขภาพสนใจมักจะอยู่ในรูปของอาหารเสริมที่เป็นรูปแบบแคปซูลหรือเม็ดฟู่ซะส่วนใหญ่…

และหากพูดเรื่องของคุณสมบัติดีดีจากแคลเซียม…แน่นอนว่ามันต้องมีส่วนช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกระดูกและฟัน เมื่อร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ ประมาณ 99 เปอร์เซ็นต์จะถูกเก็บสะสมไว้ที่กระดูกและฟัน ส่วนอีก 1 เปอร์เซ็นต์จะอยู่ในเลือด

ทั้งนี้หากถามว่าแคลเซียมทั่วๆ ไปที่รู้จักกันในวงการสุขภาพนั้นมีอะไรบ้าง? โดยภาพรวมแล้ว เราจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

  1. แคลเซียมอนินทรีย์  ยกตัวอย่างเช่น…

1.1 แคลเซียมคาร์บอเนต (CALCIUM CARBONATE)  (ถูกทำขึ้นในยุคแรกๆ )   >> ตัวนี้มีอัตราการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายต่ำ กระเพาะอาหารต้องอยู่ในสภาพเป็นกรดก่อนถึงจะดูดซึมได้ดี

  1. แคลเซียมอินทรีย์ ยกตัวอย่างเช่น …

2.1 แคลเซียมซิเตรต (CALCIUM CITRATE)  >> ตัวนี้สกัดมาจากนม ต้องทานพร้อมอาหาร  สามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อกระเพาะอยู่ในสภาพเป็นกรดเท่านั้น หากทานแล้วร่างกายดูดซึมได้ไม่หมด ก็มีโอกาสที่จะเกิดการสะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หากสะสมที่ปอดเยอะก็จะก่อให้เกิดหินปูนที่ปอดนั่นเอง

2.2 แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต (CALCIUM L-THREONATE ) >> นี่ล่ะคือเป็นแคลเซียมยุคใหม่ที่เรากำลังพูดถึง ตัวนี้สกัดมาจากกระบวนการผลิตวิตามินซีจากข้าวโพด เมื่อทานเข้าไปร่างกายจะสามารถดูดซึมได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์เลย  บางงานศึกษาบอกว่าร่างกายจะสามารถดูดซึมได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว  และยังถูกยกให้เป็นแคลเซียมโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถละลายเข้าสู่ร่างกายเราได้ดีอีกด้วย  และคุณยังสามารถทานตอนท้องว่างได้โดยไม่ต้องรอให้กระเพาะอยู่ในสภาพที่เป็นกรดก่อน

***ทั้งนี้จากที่เล่ามาข้างต้น ต้องท่องให้ขึ้นใจว่า…ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายจะดูดซึมเข้าไปในแต่ละประเภทนั้นไม่เท่ากัน

ก่อนที่จะมี CALCIUM L-THREONATE นี่คือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการทานแคลเซียมรุ่นเก่า

งานศึกษาจาก HARVARD UNIVERSITY และ OXFORD UNVERSITY เห็นตรงกันว่าแคลเซียมอาจไปกระจุกอยู่ที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่งมากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบในบริเวณนั้น เช่น หากไปกระจุกที่ไตเป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้เป็นนิ่ว หรือถ้าสะสมที่ปอดเยอะก็จะกลายเป็นหินปูนในปอดนั่นเอง นอกจากนี้ก็อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้

หลังทาน CALCIUM L-THREONATE จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายเราบ้าง?

เมื่อทานแคลเซียมแอล-ทรีโอเนตเข้าไป ลักษณะการดูดซึมของร่างกายจะเป็นแบบ PASSIVE TRANSPORT หรือเป็นการดูดซึมซึมผ่านเซลล์ โดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดีเหมือนแคลเซียมรุ่นเก่า และยังสามารถทานตอนท้องว่างได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากUS NATIONAL LIBRARY OF MEDICINE NATIONAL INSTITUTES OF HEALTHที่ยืนยันว่าแคลเซียมประเภทนี้ปลอดภัยและไม่ค้างสะสมในร่างกายอีกด้วย

เอาเป็นว่าใครที่สนใจ…ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายยา โดยควรผ่านการพิจารณาจากเภสัชกร หรือจะปรึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลที่คุณเข้าทำการรักษาอยู่ก็ได้

“ความต้องการแคลเซียมของแต่ละวัยแตกต่างกัน วัยเด็กอยู่ที่ประมาณ 600 มก.ต่อวัน ในวัยรุ่นประมาณ 1,000-1,500 มก.ต่อวัน ส่วนในวัยผู้ใหญ่ประมาณ 800-1,000 มก.ต่อวัน ขณะที่หญิงตั้งครรภ์จะต้องการ 1,500 มก.ต่อวัน ส่วนในผู้สูงอายุจะเป็นวัยที่ต้องการปริมาณแคลเซียมมากที่สุด เฉลี่ยประมาณ 1,500-2,000 มก.ต่อวัน”  

                     ขอบคุณข้อมูลจาก ดร. นิธิยา รัตนาปนนท์

Source: https://www.healthaddict.com

 

Relate Articles

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save