อ.ดร.บงกช ธุระธรรม

ในปัจจุบันความสูงมีอิทธิพลต่อจิตใจ สังคม และโอกาสในการทำงาน ดังนั้น การพัฒนาความสูงของลูกน้อยควรมีการวางแผนให้ถูกหลักในช่วงเวลาทองของลูก

ปัจจัยที่มีผลต่อความสูงคือ พันธุกรรม ฮอร์โมน โภชนาการ การพักผ่อนและการออกกำลังกาย เด็กจะแบ่งการเจริญเติบโตเป็น 3 ช่วงวัย ช่วงแรกคือ วัย 2 ปีแรกจะมีการเพิ่มความสูงและน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการดูแลปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงในช่วงวัยนี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะหากเด็กได้รับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างเต็มที่ เด็กจะมีพัฒนาการการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ภายในร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ช่วงที่ 2 คือ ช่วงก่อนเข้าวัยรุ่น ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ช่วงนี้ความสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆประมาณ 5-6 เซนติเมตรต่อปี และช่วงสุดท้ายคือช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งในเพศชายและเพศหญิงจะแตกต่างกัน เพศหญิงมักเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วสุดที่อายุประมาณ 11-12 ปี ส่วนเพศชายเริ่มต้นเมื่ออายุประมาณ 11 ปี และมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วสุดที่อายุประมาณ 13 ปี

กระดูกเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสูงโดยตรง กระดูกที่มีความสำคัญกับความสูงก็คือกระดูกยาว ได้แก่ กระดูกขาและกระดูกแขน โดยที่ส่วนประกอบของกระดูกยาวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ diaphysis หรือ shaft (ส่วนตรงกลาง) epiphysis (ส่วนปลายทั้งสองข้างของกระดูกที่เป็นกระดูกฟองน้ำ) และ metaphysis เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างทั้งสองส่วนที่ได้กล่าวมาแล้ว โดยที่การเจริญเติบโตทางยาวของกระดูกมาจากส่วน metaphysis ที่บริเวณepiphyseal plate หรือ growth plate หรือ แผ่นสร้างกระดูก จะพบการสร้างกระดูกแบบแทนที่กระดูกอ่อน (endochondral ossification) โดยการสร้างและการยืดยาวออกของกระดูกถูกกระตุ้นโดยการสร้าง growth hormone ซึ่งหลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และ insulin-like-growth-factor I (IGF-1) ซึ่งถูกกระตุ้นผ่าน growth hormone โดยที่แผ่นสร้างกระดูกจะหยุดสร้างเมื่อเข้าสู่อายุ 18-21 ปี โดยที่เพศหญิงจะหยุดเร็วกว่าเพศชาย ดังนั้นจนกว่า growth plate จะหยุดทำงาน ร่างกายสามารถกระตุ้นความสูงได้โดยผ่านปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญของกระดูก

ในส่วนของศาสตร์ทางกายภาพบำบัดที่ช่วยเรื่องกระตุ้นความสูงคือการออกกกำลังกายและการเล่นกีฬา ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของ growth plate ในการเพิ่มความสูง และการดึงยืด เป็นการดึงยืดกระดูกสันหลังโดยใช้เครื่องดึง จากงานวิจัยหลายๆงานวิจัยพบว่า การดึงหลังด้วยระยะเวลาและแรงดึงที่พอเหมาะจะช่วยเพิ่มความสูงและคงความสูงได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยการเพิ่มระยะห่างระหว่างช่องว่างของกระดูกสันหลัง ซึ่งจะดูยืดขึ้น และยังทำให้กระดูกสันหลังตรงมากขึ้น ไม่เอียง ดังนั้น การเพิ่มความสูงสามารถกระตุ้นได้โดยใช้หลายปัจจัยร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

อ้างอิง
Rodacki, ALF et al. Changes in stature during and after spinal traction in young male subjects. Brazilian Journal of Physical Therapy [online]. 2007, v. 11, n. 1, pp. 63-71.
Bridger RS, Ossey S, Fourie G. Effect of lumbar traction on stature. Spine (Phila Pa 1976). 1990 Jun;15(6):522-4.
Blum, W. F., Alherbish, A., Alsagheir, A., El Awwa, A., Kaplan, W., Koledova, E., & Savage, M. O. (2018). The growth hormone–insulin-like growth factor-I axis in the diagnosis and treatment of growth disorders. Endocrine connections, 7(6), R212-R222.
Von Pfeil, D. J., & DeCamp, C. E. (2009). The epiphyseal plate: physiology, anatomy, and trauma. Compendium (Yardley, PA), 31(8), E1-11.
Lee JH, Kim SK, Lee EK, Ahn MB, Kim SH, Cho WK, et al, Factors affecting height velocity in normal prepubertal children,” Ann Pediatr Endocrinol Metab. 2018. 23: 148-153
Spinelli, S. (2020). Lumbar Traction. E3 R3HAB.

Relate Articles

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

Privacy Preferences

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save